ปริมาณน้ำฝน หมายถึง ระดับความลึกของน้ำฝนในภาชนะที่รองรับน้ำฝน ทั้งนี้ภาชนะที่รองรับน้ำฝนจะต้องตั้งอยู่ในแนวระดับ และวัดในช่วงเวลาที่กำหนด หน่วยที่ใช้วัดปริมาณน้ำฝนนิยมใช้ในหน่วยของมิลลิเมตร
การวัดปริมาณน้ำฝนจะใช้เครื่องมือที่เรียกว่า "เครื่องวัดปริมาณน้ำฝน (rain gauge)" ซึ่งจะตั้งไว้กลางแจ้งเพื่อรับน้ำฝนที่ตกลงมา มีหลายแบบ"
ปริมาณน้ำฝนเป็นสิ่งสำคัญยิ่งสิ่งหนึ่งในอุตุนิยมวิทยา เพราะฝนเป็นปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการกสิกรรมและอื่น ๆ การวัดปริมาณน้ำฝนใช้วัดความสูงของจำนวนฝนที่ตกลงมาจากท้องฟ้าโดยให้น้ำฝนตกลงในภาชนะโลหะ ซึ่งส่วนมากทำเป็นรูปทรงกระบอก มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๒๐ เซนติเมตร ฝนจะตกผ่านปากกระบอกลงไปตามท่อกรวยสู่ภาชนะรองรับน้ำฝนไว้ เมื่อต้องการทราบปริมาณน้ำฝน ใช้แก้วตวงที่มีมาตราส่วนแบ่งไว้สำหรับอ่านปริมาณน้ำฝนเป็นมิลลิเมตรหรือเป็นนิ้ว
ในการรายงานปริมาณน้ำฝนนั้น จะรายงานว่าฝนตกเล็กน้อยฝนตกปานกลาง ฝนตกหนัก หรือฝนตกหนักมาก แต่การที่จะตั้งเกณฑ์สากลไม่อาจทำได้ เพราะสภาพของฝนในแต่ละประเทศมีปริมาณไม่เหมือนกัน เฉพาะประเทศไทย ใช้รายงานเป็นจำนวนมิลลิเมตร (มม.) ต่อ ๒๔ ชั่วโมง โดยมีหลักเกณฑ์ในการรายงานดังนี้
ปริมาณฝนต่อ ๒๔ ชั่วโมง
ฝนตกเล็กน้อย ๐.๑-๑๐.๐ มม.
ฝนตกปานกลาง ๑๐.๑-๓๕.๐ มม.
ฝนตกหนัก ๓๕.๑-๙๐.๐ มม.
ฝนตกหนักมาก ๙๐.๑ มม. ขึ้นไป
ถ้ามีฝนน้อยกว่า ๐.๑ มม. จะรายงานว่า “มีฝนตกเล็กน้อยวัดปริมาณไม่ได้”
สำหรับมาตรวัดฝนแบบไทย ๆ ที่เรียกว่า 'ห่าฝน' นั้น ใช้บาตรตั้งไว้กลางแจ้ง ถ้าได้น้ำเต็มบาตรก็เรียกว่า ฝนตกห่าหนึ่ง
การเปรียบเทียบหน่วยปริมาตร
หน่วยปริมาตรที่นิยมและใช้กันมาก คือ หน่วยการตวงในมาตราเมตริก
มาตราเมตริก มีหน่วยความยาวเป็น มิลลิเมตร เซนติเมตร เมตร และ กิโลเมตร
1 มิลลิเมตร = 1 เซนติเมตร
1 เมตร = 100 เซนติเมตร
1 กิโลเมตร = 1,000 เมตร
เมื่อเทียบกับหน่วยปริมาตร
1 ลิตร = 1,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร
1 มิลลิลิตร = 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร
1 ลูกบาศก์เมตร = 1,000 ลิตร
หน่วยการตวงในมาตราไทย มีดังนี้
1 ถัง = 20 ลิตร
1 เกวียน = 100 ถัง
1 เกวียน = 2 ลูกบาศก์เมตร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น